หน้าเว็บ

การเตรียมพื้นผิวที่จะติดตั้ง Strain gage

การเตรียมพื้นผิวที่จะติดตั้ง Strain gage
Strain gage สามารถที่จะนำมาติดตั้งอยู่บนวัสดุทางวิศวกรรมแทบทุกชนิด ถ้าพื้นผิวของวัสดุที่จะทำการติดตั้ง Strain gage มีการเตรียมพื้นผิวถูกต้อง วัตถุประสงค์หลักในการเตรียมพื้นผิวของวัสดุคือ ต้องการที่จะปรับสภาพพื้นผิวให้มีความหยาบ (Roughness), สภาพทางเคมี และความเป็นด่าง (Alkalinity) ที่เหมาะสม นอกจากนั้น เพื่อที่จะได้วางเส้นที่บอกตำแหน่งและทิศทางของ Strain gage ที่ถูกต้องและตรงจุดที่ต้องการ
ขั้นตอนในการเตรียมพื้นผิวสำหรับ Aluminum alloys และ steel มีดังต่อไปนี้
1. การเตรียมพื้นผิวชิ้นงาน (Degreasing)
2. การขัดพื้นผิว (Surface abrading)
3. การวางตำแหน่งและทิศทางของ Strain gage (Application of gage layout lines)

4. การปรัสภาพพื้นผิวให้เหมาะสม (Surface conditioning)
5. การปรับสภาพพื้นผิวให้เป็นกลาง (Neutralizing)


1. การเตรียมพื้นผิวชิ้นงาน
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มแรกในการเตรียมพื้นผิวที่จะติดตั้ง Strain gage และเป็นการชำระล้างสารต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นไขมัน (Grease), นํ้ามัน (Oil), สารอินทรีย์สกปรก (Organic Contaminant), และสารเคมีตกค้าง (Chemical residue) ออกไปจากพื้นผิวของวัสดุที่กำลังจะติดตั้ง Strain gage โดยใช้ Degreaser พ่น (Spray) หรือใช้ผ้าเช็ดแผลจุ่ม Degreaser เช็ดที่บริเวณนั้น ดังรูปที่ 2.5


            2. การขัดพื้นผิว (Surface abrading)
ในขั้นตอนนี้พื้นผิวของตัวอย่างทดสอบ (Specimen) จะถูกขัดเพื่อที่จะขจัดสิ่งสกปรกต่างๆที่ไม่ต้องการเช่น คราบปูน, คราบสนิม, และคราบสกปรก เป็นต้น ออกจากพื้นผิวบริเวณที่จะติดตั้ง Strain gage และเพื่อที่จะได้เตรียมพื้นผิวใหม่ลักษณะเหมาะสมที่กาว (Adhesive) จะยึดติด Strain gage กับพื้นผิวได้ดี
การขัดพื้นผิวจะเป็นการขัดพื้นผิวแบบเปียก จะเริ่มจากการเท Condition ลงในบริเวณที่จะเตรียมพื้นผิวติดตั้ง Strain gage เป็นปริมาณเล็กน้อย จากนั้นใช้กระดาษทราย (เบอร์ 320 สำหรับอลูมินัม หรือเบอร์ 220 สำหรับเหล็ก) ขัดบนพื้นผิวบริเวณนั้น หลังจากนั้นถ้าเห็นว่าพื้นผิวค่อนข้างแห้งไปก็เท Condition เพิ่ม ขัดจนกว่าที่พื้นผิวบริเวณที่ต้องการมีลักษณะมันวาวจากนั้นใช้ผ้าเช็ดแผลที่สะอาดเช็ดพื้นผิวบริเวณนั้นและรอบๆให้สะอาด การเช็ดจะเช็ดไปทางเดียวกลับด้านผ้าเช็ดแผลเช็ดอีกทีแล้วทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกทั้งหลายมาตกอยู่ในบริเวณที่กำลังถูกทำความสะอาด กระทำขั้นตอนข้างตนซํ้าอีกครั้งแต่ใช้ประดาษาทรายเบอร์ 400 สำหรับอลูมินัม หรือเบอร์ 320 สำหรับเหล็ก

              3. กางวางตำแหน่งและทิศทางของ Strain gage (Application of gage layout lines)
ตำแหน่งและทิศทางของ Strain gage บนผิวของตัวอย่างทดสอบจะถูกทำเครื่องหมายโดยใช้เส้นตรงสองเส้นที่ตัดกันเป็นมุม 90 องศา เป็นเส้นอ้างอิง เส้นทั้งสองนี้ควรจะมีขนาดที่ยาวพอสมควรและชัดเจน สำหรับอลูมินัม เส้นทั้งสองควรลากโดยใช้ดินสอที่แกนดินสอมีความแข็ง HB หรือสำหรับเหล็ก เส้นทั้งสองควรลากโดยใช้ปากกาลูกลื่น

              4. การปรับสภาพพื้นผิวให้เหมาะสม (Surface conditioning)
หลังจากที่เส้นอ้างอิงทั้งสองได้ถูกร่างไว้บนตัวอย่างทดสอบ สิ่งสกปรกจากไส้ดินสอหรือนํ้าหมึกปากกาจะถูกทำความสะอาดออกไปโดยการเท Condition ลงในบริเวณเตรียมพื้นผิวติดตั้ง Strain gage เป็นปริมาณเล็กน้อย ใช้ไม้ปลายพันสำลี ถูบริเวณนั้นจนกระทั่งเส้นของไส้ดินสอหรือนํ้าหมึกปากกาไม่ปรากฏอยู่บนไม้พันสำลี จากนั้น บริเวณดังกล่าวจะถูกทำให้แห้งอีกครั้งโดยการใช้ผ้าเช็ดแผลที่สะอาด เช็ดไปทางเดียวอย่างช้าๆ อย่างน้อยอีกสองครั้ง

             5. การปรับสภาพพื้นผิวให้เป็นกลาง (Neutralizing)
ขั้นตอนนี้กระทำเพื่อที่จะให้พื้นผิวที่จะติด Strain gage มีความเป็นด่าง (Alkalinity) ที่เหมาะสมในการติดตั้ง Strain gage ด้วยกาว โดยพื้นผิวจะถูกปรับสภาพพื้นผิวให้เป็นกลางโดยการเท Neutralizer ลงในบริเวณนั้นเป็นปริมาณเล็กน้อย ใช้ไม้ปลายพันสำลีถู จากนั้นบริเวณดังกล่าวจะถูกทำให้แห้งอีกครั้งโดยการใช้ผ้าเช็ดแผลที่สะอาด เช็ดไปทางเดียวอย่างช้าๆ อย่างน้อยอีกสองครั้ง ดังรูปที่ 2.8








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น